บันทึกการเรียนรู้ ➤ ครั้งที่ 8

วันอังคารที่ 6 มีนาคม พ.ศ.2561
เวลา 08.30-11.30น.




ความรู้ที่ได้รับ

     ในการเรียนการสอนสำหรับวันนี้ก่อนที่จะเข้าเนื้อหาที่จะเรียนอาจารย์ได้พูดถึงเรื่องที่มาช่วยบูมรุ่นพี่ที่จบไปแล้ว ในวันนั้นเป็นวันซ้อมพระราชทานปริญญาบัตร อาจาย์บาสให้ดาวเด้กดีสำหรับคนที่ไปช่วยในวันนั้น คนละ 2 ดวง



ใบเช็คเวลาเรียน








         หลังจากนั้นอาจารย์ได้พูดถึงบทที่จะเรียนแต่ก่อนจะเข้าสู่เนื้อหาอาจารย์ได้แบ่งกลุ่มบทบาทสมมติ ให้ตัวแทนของแต่กลุ่มออกมา 1 คน เป่ายิ้งฉุบกันเพื่อจะเลือกหัวข้อที่จะแสดงมีทั้งหมด 4 หัวข้อ
วิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็ก จัดได้ 4 วิธี
วิธีที่ 1 การอบรมเลี้ยงดูเด็กแบบความรักความอบอุ่นแบบประชาธิปไตย
วิธีที่ 2 การอบรมเลี้ยงดูเด็กแบบคาดหวังเอากับเด็ก
วิธีที่ 3 การอบรมเลี้ยงดูเด็กแบบปล่อยปละละเลย
วิธีที่ 4 การอบรมเลี้ยงดูเด็กแบบรักถนอมมากเกินไป
    ส่วนกลุ่มของหนูได้วิธีที่ 3 การอบรมเลี้ยงดูเด็กแบบปล่อยปละละเลย จะทำเป็นแบบวิดีโอเพื่อจะนำเสนอ และอาจารย์ก็ได้บอกแนวข้อสอบที่จะสอบในสัปดาห์ถัดไป



บรรยากาศการเลือกหัวข้อบทบาทสมมติ

           


อาจารย์บาสก็ได้เข้าเนื้อหาบทเรียน



บทที่5 การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย


❤รูปแบบของการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย

☺ความหมายของการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
   การอบรมเลี้ยงดูเด็ก หมายถึง การที่บิดา มารดา หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ในการเลี้ยงดูเด็ก ปฏิบัติต่อเด็กที่ยังไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ให้เจริญเติบโต และมีพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา ซึ่งผู้อบรมต้องอบรมด้วยความรัก ความเข้าใจ และปรับวิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็กอย่างเหมาะสม ให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคม เพื่อให้เด็กเติบโตเป็นคนดี สามารถเผชิญกับสภาพการณ์ของสังคม และอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

☺ความสำคัญของพ่อแม่ในการอบรมเลี้ยงดู
   คุณภาพและประสิทธิภาพของมนุษย์ขึ้นอยู่กับพัฒนาการของแต่ละคนตามวัยต่างๆโดยเฉพาะบุคคลในวัยทำงานนั้นจะมีคุณภาพและประสิทธิภาพเท่าใดก็ขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ การฝึกฝน และประสบการณ์ที่ต่อเนื่องกันตั้งแต่แรกเกิดถึงวัยปัจจุบัน การเรียนรู้ครั้งแรกของมนุษย์ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูของพ่อแม่ โดยถือว่าพ่อแม่ คือ ครูคนแรกของลูก

ความจำเป็นที่ต้องมีพ่อ
1.เด็กต้องเห็นแบบอย่างของผู้ใหญ่ชาย
2.พ่อเป็นแบบที่ดีให้ลูกชาย
3.เด็กหญิงจะได้รับบทบาทของผู้ชาย
4.พ่อช่วยปลูกฝังลักษณะทั่วไปให้แก่ลูก คือ ความเข้มแข็งบึกบึน 
5.พ่อที่สนิทสนมกับลูกชาย มีโอกาสที่จะพูดคุยกันอย่างลูกผู้ชาย
6.ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างลูกชายกับพ่อจะช่วยให้ลูกได้เรียนรู้วิธีผูกมิตรไมตรีกับชายอื่นที่เขาต้องสมาคมด้วย
7.ความเข้มแข็ง เป็นหัวหน้าครอบครัว เป็นผู้นำในเรื่องต่างๆจะช่วยให้ลูกชายเกิดศรัทธาและอยากเลียนแบบเช่นนั้นบ้าง

ความจำเป็นที่ต้องมีแม่
1.คอยดูแลให้ปฎิบัติตามระเบียบแบบแผน
2.ช่วยปลูกฝังนิสัยการกินที่ดี
3.สอนให้รักษาความสะอาด
4.คอยฝึกฝนกิริยามารยาทที่ดีงาม
5.สอนให้ลูกรู้จักการเก็บรักษาสมบัติ ฝึกความเป็นระเบียบเรียบร้อย
6.สอนศีลธรรม
7.เป็นแบบอย่างความเป็นผู้หญิงให้แก่ลูก
8.ลูกสาวจะได้เรียนรู้สิ่งใดมีค่าสำหรับผู้หญิงจากแม่และต้องพยายามหามาให้เป็นของตน
9.ช่วยให้ลูกสาวพัฒนาทางอารมณ์ให้ความรู้เรื่องเพศตามวัย

บทบาทหน้าที่ของพ่อแม่ในการอบรมเลี้ยงดู
1.มีเจตคติที่ดีต่อเด็ก
2.สนองความต้องการของเด็กในทุกด้าน
3.ถ่ายทอดวัฒนธรรมประเพณีให้กับเด็ก
4.ปลูกฝังเจตคติที่ดีต่อบุคคลและสิ่งต่างๆ
5.ส่งเสริมความสนใจของเด็ก
6.ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญา
7.สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้แก่เด็ก
8.ทำตัวเป็นครูของลูก
9.การให้แรงเสริมและการลงโทษ

บทบาทของพ่อแม่ที่ไม่เหมาะสมในการอบรมเลี้ยงดู
1.การตี
2.การให้สินบน
3.การขู่
4.การเยาะเย้ย
5.การทำโทษรุนแรงเกินไป
6.การล้อเลียน
7.การคาดโทษ
8.การกระทำให้ได้รับความเจ็บปวด
9.การทำให้ได้รับความอับอาย
10.การเปรียบเทียบกับเด็กที่เล็กกว่า
11.การโต้เถียง ขัดแย้ง
12.การเข้มงวดเกินไป
13.การปล่อยปละละเลย

อิทธิพลของการเลี้ยงดูที่มีผลต่อพัฒนาการทางบุคลิกภาพ
ถ้าเด็กถูกเลี้ยงด้วยคำตำหนิ             เขาก็จะเป็นคนล้มเหลว
ถ้าเด็กถูกเลี้ยงด้วยความก้าวร้าว          เขาก็จะเป็นคนที่แข็งกร้าว
ถ้าเด็กถูกเลี้ยงด้วยคำเย้ยหยัน           เขาก็จะเป็นคนขลาดอาย
ถ้าเด็กถูกเลี้ยงด้วยความละอาย          เขาก็จะเป็นขี้หวาดระแวง
ถ้าเด็กถูกเลี้ยงด้วยความมานะ           เขาก็จะเป็นคนที่อดทน
ถ้าเด็กถูกเลี้ยงด้วยการให้กำลังใจ        เขาก็จะเป็นคนที่เชื่อมั่นในตนเอง
ถ้าเด็กถูกเลี้ยงด้วยความชื่นชม          เขาก็จะเป็นคนซึ้งในคุณค่า
ถ้าเด็กถูกเลี้ยงด้วยความยุติธรรม         เขาก็จะเป็นคนที่รักความยุติธรรม
ถ้าเด็กถูกเลี้ยงด้วยความรักความอบอุ่น     เขาก็จะเป็นคนมีศรัทธาในชีวิต
ถ้าเด็กถูกเลี้ยงด้วยการยอมรับ           เขาก็จะเป็นคนที่พอใจในตนเอง
ถ้าเด็กถูกเลี้ยงด้วยความเป็นมิตร         เขาก็จะเป็นเด็กที่เต็มไปด้วย

ความสำคัญและความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่และลูก
   ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่และลูก หมายถึง ความรู้สึกที่พ่อแม่มีต่อลูกและความรู้สึกที่ลูกมีต่อพ่อแม่นั่นเอง เด็กแต่ละคนจะมีความรู้สึกต่อพ่อแม่ต่างกัน เช่น มีคำกล่าวว่า ลูกสาวมักจะใกล้ชิดสนิทสนมมากกว่าแม่หรือลูกชายจะสนิทสนมแม่มากกว่าพ่อ นอกจากนี้ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่และลูกมักจะขึ้นอยู่กับเจตคติของพ่อแม่ที่มีต่อลูก

เจตคติของพ่อแม่ที่มีต่อลูก 6 แบบ
1.พ่อแม่ที่รักและคอยช่วยเหลือเอาใจใส่ลูกมากเกินไป
2.พ่อแม่เอาใจลูกเกินไป
3.พ่อแม่ที่ทอดทิ้งเด็ก
4.พ่อแม่ที่ยอมรับเด็ก
5.พ่อแม่ที่ชอบบังคับลูก
6.พ่อแม่ที่ยอมจำนนต่อลูก 

☺วิธีการอบรมเลี้ยงดู อาจจัดได้4วิธีดังนี้
          


  วิธีที่ 1 การอบรมเลี้ยงดูเด็กแบบความรักความอบอุ่นแบบประชาธิปไตย

  เป็นการอบรมเลี้ยงดูลูก ซึ่งได้แก่ ความรัก ความเอาใจใส่ ความเข้าใจ ต้องใช้เหตุผลกับลูกให้ลูกรู้สึกว่าได้รับการปฏิบัติด้านความยุติธรรม และไม่ใช้เพียงแต่ให้ความรักอย่างเดียว ต้องให้ความสำคัญแก่ลูก โดยถือว่าลูกคือส่วนสำคัญต่อครอบครัว พ่อแต้องให้ในสิ่งที่ลูกต้องการจริง ๆ
หลักการอบรมเลี้ยงดูแบบนี้พ่อแม่จะทำได้คือ
1.พ่อแม่ให้สิทธิแก่ลูกในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวให้เขาเป็นตัวเองให้มากที่สุด จะต้องไม่คิดแทนลูก ฝึกให้เขาทำได้คิดตัวเอง
2.พ่อแม่มีหน้าที่ให้สิ่งต่าง ๆ ตรงกับพัฒนการตามความต้องการเหมาะสม และความสามารถทางร่างกาย
3.พ่อแม่ควรต้องเอาใจใส่ ต่อควาทคิดเห็นของลูก สนใจกิจกรรมต่าง ๆ ของลูก ให้คำแนะนำ สิ่งเสริมและเฝ้าดูผลสำเร็จในงานของลูกด้วยความตั้งใจและอดทน
4.พ่อแม่ควรมีเวลาใกล้ชิดลูก และทำตัวเป็นเพื่อนที่ดีของลูก ให้คำแนะนำมากกว่าการออกคำสั่งให้ทำควรเลี้ยงลูกแบบประชาธิปไตยไม่ใช่เผด็จการ เพราะจะช่วยให้เด็กได้เติบโตอย่างมีอิสระตามพัฒนาการขั้นต่างๆ
5.พ่อแม่ควรใช้แรงเสริมเป็นตัวสร้างบุคลิกภาพของเด็กตามที่ต้องการจะให้เด็กเป็น พ่อแม่จะต้องเป็นแบบอย่างโดยแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมให้ลูกเห็นอย่างเด่นชัด
6.พ่อแม่ควรส่งเสริมความเป็นคนมีสุขภาพจิตที่ดีให้แก่ลูก โดยให้อิสระแก่ลูกควบคู่ไปกับการมีหน้าที่และความรับผิดชอบ ทำให้ทั้งสองสิ่งมีความสมดุลกันขึ้นในตัวของลูก
7.พ่อแม่ควรจะใช้วิธีการลงโทษให้เหมาะสม ทฤษฏีของโคเบอร์ก กล่าวว่า เด็กอายุ 1-7 ปี การทำโทษทางกายยังใช้ได้ดี เพราะทำให้เกิดการเรียนรู้ การตีเด็ก ควรตีเพราะสั่งสอนมิใช่เพราะโกรธ
8.การฝึกวินัยให้ลูกเป็นสิ่งจำเป็น ควรเริ่มทำในเมื่อลูกโตพอที่จะเข้าใจเหตุผล การยัดเยียดให้เด็กมีระเบียบวินัยมากเกินไปในขณะที่เด็กยังไม่พร้อม จะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี เพราะจะทำให้เด็กต่อต้าน เอาแต่ใจ
9.พ่อแม่ควรสร้างสิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นให้ลูกเกิดความอยากรู้อยากเห็นและเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
10.พ่อแม่ควรช่วยให้ลูกได้เรียนรู้ทีจะอยู่กับผู้อื่นอย่างมีความสุข โดยเฉพาะในเด็กวัยเดียวกัน เพื่อให้เด็กได้ปรับตัวเข้ากับสังคม และอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข
ผลของการเลี้ยงลกแบบประชาธิปไตย เด็กจะมีลักษณะ ดังนี้
- จะเป็นคนเปิดเผย เป็นตัวของตัวเอง มีเหตุผล
- มีความรับผิดชอบ
- มีอารมณ์ขัน ร่าเริงแจ่มใส มองโลกในแง่ดี
- เรียนรู้อะไร ๆ ได้อย่างรวดเร็ว
- สามารถปรับตัวได้ดี และกล้าแสดงออกอย่างมั่นใจ
- สามารถช่วยเหลือตนเองและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
- มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง
- มีลักษณะของการเป็นผู้นำที่ดี
- ให้ความร่วมมือกับผู้อื่นได้ดี มีความมั่นคงทางอารมณ
- มีความเข้าใจตนเองสูง และรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า
- รู้จักใช้เหตุผล เคารพสิทธิของตนเองและผู้อื่น


วิธีที่ 2 การอบรมเลี้ยงดูเด็กแบบคาดหวังเอากับเด็ก
1.เคี่ยวเข็ญให้ลูกทำตามสิ่งที่พ่อแม่เห็นว่าดีเท่านั้น
2.มักจะดุด่าว่ากล่าวเมื่อเวลาที่ลูกอธิบายหรือแสดงเหตุผลคัดค้าน
3.กำหนดรายการอาหารทุกมื้อแก่ลูก และลูกต้องกินหมดทุกครั้ง
4.กำหนดวิธีการดำรงชีวิตตั้งแต่เกิด ไม่ว่าจะเป็นการกิน การเล่น การเที่ยว ขึ้นอยู่กับพ่อแม่
ผลของการเลี้ยงลูกแบบคาดหวังเอากับเด็ก เด็กจะมีลักษณะดังนี้
- ลูกจะเป็นคนเจ้าอารมณ์ ปรับตัวกับสังคมภายนอกได้ยาก
- ไม่มีความมั่นใจในตนเอง
- ไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง ไม่กล้าตัดสินใจด้วยตนเอง
- ขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
- ชอบพึ่งพาผู้ใหญ่







วิธีที่ 3 การอบรมเลี้ยงดูเด็กแบบปล่อยปละละเลย

1.ไม่ค่อยสนใจเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของลูก ลูกจะเลนอะไร อย่างไร พ่อแม่ไม่เคยเอาใจใส่
2.เวลาพ่อแม่อารมณ์ไม่ดี มักจะระบายออกด้วยการทำโทษเด็กเสมอ
3.เวลาลูกถามมักพูดว่า “อย่ามากวนใจ ไปให้พ้น” 
4.ชอบพูดขู่ลูกเสมอเวลาลูกเล่นซน ถ้าเด็กไม่กลัวก็จะตีลูกอย่างรุนแรง
5.ปล่อยให้ลูกทำอะไรต่าง ๆ ตามใจชอบ ไม่ค่อยชี้แนะแนวทางที่ถูกต้องและเหมาะสมให้
6.มักรักลูกไม่เท่ากัน โดยปฏิบัติตนกับลูกอย่างลำเอียง
ผลของการอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย เด็กจะมีลักษณะดังนี้
- ลูกจะมีลักษณะก้าวร้าว ชอบทะเลาะเบาะแว้วกับผู้อื่นบ่อย ๆ
- มีทัศนคติไม่ดีต่อพ่อแม่ บางครั้งถึงกับเกลียดชังพ่อแม่ตัวเอง ไม่เชื่อฟังผู้ใหญ่
- ลูกมีอาการเซื่องซึม ไม่สามารถปรับตัวได้ง่าย มีความตึงเครียดทางอารมณ์



วิธีที่ 4 การอบรมเลี้ยงดูเด็กแบบรักถนอมมากเกินไป
 1.คอยชี้แนะช่วยเหลือเพื่อนตลอดเวลา
2.ไม่ยอมให้ลูกเล่นกับเพื่อนๆ เพราะกลัวลูกจะถูกรังแก
3.ไม่ยอมให้เด็กกินอาหารเอง เพราะกลัวจะทำเลอะเทอะ
4.มักช่วยลูกทำการบ้านเสมอ
5.ไม่ยอมให้ลูกกินอาหารหรือขนม จนกว่าพ่อแม่จะได้ชิมเสียก่อน
6.เมื่อลูกเจ็บป่วยเล็กน้อย พ่อแม่จะวิตกกังวลมาก
7.ไม่ยอมให้ลูกได้ช่วยตนเองเวลาทำงานต่าง ๆ
ผลของการเลี้ยงดูแบบรักถนอมมากเกินไป เด็กมีลักษณะดังนี้
- เป็นเด็กที่เอาแต่ใจตนเอง ขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และความเชื่อมั่นในตนเอง
- คอยพึ่งพาผู้อื่นอยู่เสมอ พึ่งตนเองไม่ได้
- ไม่สามารถจะแก้ปัญหาด้วยตนเอง ปรับตัวให้อยู่ในสังคมได้ยาก
- มีแนวโน้มสุขภาพจิตเสีย และมีอาการทางประสาท

❤การอบรมเลี้ยงดูเด็กวัยทารก

☺การดูแลเด็กทารก
   เด็กวันทารก (Infancyนับตั้งแต่คลอดจากครรภ์มารดาไปจนถึง 2 ปี เป็นวัยที่สำคัญที่สุดในการวางรากฐานสำคัญต่าง ๆ ของชีวิตในทุก ๆ ด้าน เป็นระยะที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด บิดามารดาผู้เลี้ยงดูจึงควรใช้ระยะเวลานี้เพื่อส่งเสริมให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น โดยตอบสนองความต้องการจำเป็นต่าง ๆ เพื่อให้ทารกมีพัฒนาการที่ดีทั้งทางกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา

✌การดูแลสุขภาพ
1.การอาบน้ำ
2.การสระผม
3.การเปลี่ยนผ้าอ้อมเสื้อผ้าที่สวมใส่ ควรสะอาด
4.ปากและฟัน

✌การดูแลด้านโภชนาการ
-                   ความต้องการอาหารของทารก มีดังต่อไปนี้   
   ☺โปรตีน  ☺พลังงาน  ☺วิตามิน  ☺เกลือแร่                                   1)เหล็ก   2) ไอโอดีน  3) แคลเซียม  4) สังกะสี 

  การเลี้ยงดูทารกด้วยนมแม่
    นมแม่ที่เหมาะสมที่สุดในการเลี้ยงดูทารกในระยะแรกของชีวิตเพื่อการเจริญเติบโต และการสร้างภูมิต้านทานโรค ทั้งนี้ด้วยเหตุผลต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
  1.คุณค่าทางโภชนาการของนมแม่ นมแม่แบ่งได้ 2 ระยะ
     1.น้ำนมเหลือง (Colostrums) เป็นน้ำนมที่ออกมาในระยะ 2-4 วันแรก จะหลั่งใน 12 – 24 ขั่วโมงหลังคลอด
     2.น้ำนมแม่ (Mature Human Milk) หลังคลอด 2 – 4 วัน      
  2.ลักษณะที่ดีของนมแม่
  1.นมแม่มีสารอาหารครบถ้วน
  2.นมแม่สะดวกไม่ต้องเสียเวลาชงนม
  3.นมแม่สะอาดปลอดภัย
  4.นมแม่มีสารป้องกันการติดเชื้อ
  5.นมแม่ลดอัตราการเกิดโรคภูมิแพ้
  6.นมแม่ไม่ทำให้ลูกอ้วน                                               
  7.นมแม่มีผลดีต่อจิตใจ                               
  8.นมแม่มีผลดีต่อแม่ ทำให้มดลูกของแม้เข้าอู่เร็ว                             
  3.หลักการในนมทารกด้วยนมแม่
 1.การเตรียมตัวของแม่ก่อนคลอด ควรมีการออกกำลังกาย และเตรียมใจไว้ด้วยการควรจะเริ่มทำในระยะกลาง ๆ ของการตั้งครรภ์
ถ้าหัวนมบุ๋มหรือบอดก็อาจต้องดึงออกและนวดเต้านม
 2.การให้นมลูก อาจให้ทุก 3 – 4 ชั่วโมง หรือตามความต้องการของลูกก็ได้ ในระยะแรก ๆ หลังคลอดอาจให้ดูดสลับทั้ง 2 เต้าในแต่ละมื้อ
 4.การให้นมประสม
     การเลี้ยงลูกด้วยนมผสมก็เป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างมาก ในครอบครัวปัจจุบันที่มีแม่ต้องออกไปทำงานนอกบ้านหรือไม่มีน้ำนมหรือเวลาในการเลี้ยงลูก ดังนั้นจึงควรมีความรู้ในการให้นมผสม
   -ชนิดของนมผสม
1)นมผงคล้ายนมมารดา
2)นมผงครบส่วน
3)นมข้นจืด
4)นมสำหรับเด็กแพ้นมวัว
4.2 ปริมาณนมผสมสำหรับทารก
ตารางแสดงจำนวนครั้งและปริมาณการให้นมทารกแรกเกิด 1-12 เดือน

                         อายุ
        ปริมาณ ( ออนซ์ต่อมื้อ
              จำนวนครั้งต่อวัน
                 1-04 เดือน
                           3-4
                              6-8
                 4-06 เดือน
                           6-7
                              4-5
                  6-09 เดือน
                           7-8
                               3-4
                  9-12 เดือน
                            8
                                3


     4.3 วิธีให้นมผสมหรือนมขวด ไม่ควรใช้ผ้าหรือหมอนรองหนุนขวดให้ทารกนอนดูดได้ และไม่ควรให้ทารกนอนดูดนมจนหลับไปโดยยังอมหัวนมอยู่
     4.4  การชงนม สิ่งที่ต้องระวังเป็นพิเศษ คือ ความสะอาดนมที่แน่ใจว่าสะอาดคือนมที่ชงกินมื้อต่อมื้อ
     4.5 การทำความสะอาดขวดนมและหัวนม สามารถทำได้โดยนำขวดนมทั้งชุดไปต้ม

การให้อาหารเสริมทารก
การให้อาหารเสริมแก่ทารกมีข้อพิจารณา ดังนี้

อายุ
อาหารเสริม
แรกเกิด- 4  เดือน

กินนมแม่อย่างเดียว

อายุครบ  5  เดือน
กินนมแม่ เพิ่มข้าวบด เนื้อปลาสุกสลับกับไข่แดงต้มสุกผสมน้ำแกงจืด วันละ 1 ครั้ง แล้วกินนมแม่ตามจนอิ่ม
อายุครบ  6  เดือน
กินนมแม่หรือนมผสม ข้าวบดเนื้อปลาสุกหรือไข่แดง ต้มสุกผสมน้ำแกงจืด โดยเพิ่มผักสุกบดด้วยทุกครั้งเป็นอาหารแทนนมแม่ 1 มื้อ มีผลไม้เป็นอาหารว่าง 1 มื้อ เช่น มะละกอ
อายุครบ  7  เดือน
กินนมแม่หรือนมผสม เพิ่มเนื้อสัตว์สุกบดชนิดอื่น เช่น ไก่ หมู และตับสัตว์สุกบดหรือทั้งไข่แดงและไข่ขาวต้มสุกบดในข้าว  และผักบดสลับกับอาหารที่เคยให้เมื่ออายุครบ 6 เดือน มีผลไม้เป็นอาหารว่าง 1 มื้อ เช่น ส้มเขียวหวาน
อายุครบ 8 - 9 เดือน
กินนมแม่หรือนมผสม กินอาหารเช่นเดียวกับเมื่ออายุครบ 7 เดือน แต่บดหยาบและเพิ่มปริมาณให้มากขึ้น เป็นอาหารหลักแทนนมได้ 2 มื้อ มีผลไม้เป็นอาหารว่าง 1 มื้อ เช่น กล้วยน้ำว้า
อายุ 10 – 12 เดือน
กินนมแม่หรือนมผสม กินอาหารเช่นเดียวกับเมื่ออายุ 8-9 เดือน แต่เพิ่มปริมาณให้มากขึ้นเป็นอาหารหลักแทนนมแม่ได้ 3 มื้อ ผลไม้เป็นอาหารว่าง 1 มื้อ เช่น สับปะรด
อายุ 13 – 24 เดือน
ให้เด็กดื่มนมจากถ้วยโดยให้ดื่มวันละ 2-3 ครั้ง ครั้งละประมาณ 1 ถ้วย ให้รับประทานข้าวสวยที่หุงนุ่มๆ และอาหารเหมือนผู้ใหญ่ที่ไม่แข็งหรือเหนียว หรือย่อยยากจนเกินไป

☺ข้อแนะนำในการให้อาหารเสริมทารก
1.ไม่ควรให้อาหารอื่น นอกจากนมแม่ก่อนอายุ 4 เดือน
2.เมื่อเด็กอายุ 4 เดือนเต็มจะเริ่มให้อาหารอื่นได้
3.การให้อาหารใหม่แต่ละชนิด ควรเว้นระยะห่างกันนาน 1- 2 สัปดาห์
4.ถ้าเด็กปฎิเสธอาหารในครั้งแรกๆ แย่าพยายามยัดเยียดหรือบังคับให้กิน
5.อย่าปรุงอาหารรสจัดให้แก่เด็ก
6.ไม่ควรให้น้ำหวานแก่เด็ก

☺การจัดของเล่นสำหรับเด็กทารก

อายุ
ของเล่น
วัตถุประสงค์
แรกเกิด-6 เดือน
-เครื่องแขวนสีสด

-เครื่องเขย่าให้เกิดเสียง
-ตุ๊กตายางผิวหยาบแต่นุ่มนิ่ม ตุ๊กตาผ้า
-กระตุ้นการใช้สายตาและการจับต้องด้วยมือเท้า
-ให้จับ คว้า  เขย่า  โยก  ฝึกฟังเสียง
-ให้จับ ขยำ ลูบ คลำ กอด ให้เกิดความอบอุ่น
7-12 เดือน
-กล่องเปล่าขนาดต่างๆ
-รถหัดเดิน
-ฝึกการหยิบจับซ้ำและการซ้อน
-ฝึกกล้ามเนื้อหลังและขา
1-2 ปี
-ตุ๊กตา
-หนังสือรูปภาพ
-เล่นเลียนแบบ
-ฝึกการสังเกตจากภาพ  ฝึกเรียกชื่อสัตว์

☺การให้ภูมิคุ้มกันโรค

อายุ
ให้วัคซีนป้องกันโรค
9-12 เดือน
-หัด คางทูม หัดเยอรมัน ครั้งที่ 1
1ปีครึ่ง
-คอตีบ บาดทะยัก โปลิโอ ครั้งที่ 4
-ไข้สมองอักเสบ ครั้งที่ 1,2
2ปีครึ่ง
-ไข้สมองอักเสบ ครั้งที่  3
4-6 ปี
-คอตีบ บาดทะยัก ไอกรบ โปลิโอ ครั้งที่  5
-วัคซีน บีซีจี  ป้องกันวัณโรค
12-16 ปี
-หัด คางทูม หัดเยอรมัน ครั้งที่ 2
-คอตีบ บาดทะยัก


☺การป้องกันอุบัติเหตุในวัยทารก

อายุ
อุบัติเหตุ
การป้องกัน
แรกเกิด- 4 เดือน
-สำลักน้ำนม
-แขนขาหรือคอขัดในซี่กรงขอบเตียง
-อุ้มทารกเวลาให้นม
-ติดลูกกรงให้ดี
4-9 เดือน
-ตกจากที่สูง
-จมน้ำในอ่าง
-อย่าปล่อยไว้คนเดียว
-อย่าทิ้งทารกไว้ในอ่างคนเดียว
9-12 เดือน
-ของเล่นติดคอ หู จมูก
-ของเล่นต้องมีขนาดใหญ่
12-24 เดือน
-หกล้มหัวโน
-ไฟดูด
-อย่าปล่อยให้อยู่คนเดียว
-ย้ายปลั๊กไฟให้สูงพ้นจากมือทารก

ปัญหาเด็กวัยทารก
1.ปัญหาจากการร้อง
2.ปัญหาเกี่ยวกับการนอน
3.ปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร
4.ปัญหาเกี่ยวกับผิวหนัง
5.ปัญหาเกี่ยวกับปากและนัยน์ตา
6.ปัญหาเกี่ยวกับระบบหายใจ

 ❤การอบรมเลี้ยงดูเด็กวัยก่อนเรียน

☺การอบรมดูแลลูกวัยก่อนเรียน
   เด็กวัยก่อนเรียน (preschool child) หรือเด็กวัยตอนต้น (early childhood) มีอายุ 2 – 5 เด็กวัยก่อนเรียนเป็นช่วงที่สำคัญที่สุดช่วงหนึ่งของชีวิต เพราะเป็นวัยทองของการวางรากฐานบุคลิกภาพของมนุษย์ ระยะนี้เป็นระยะที่เกิดการเรียนรู้มากที่สุดในชีวิต เป็นช่วงพัฒนาการที่สำคัญที่สุดที่จะสร้างบุคลิกภาพให้แก่เด็ก เด็กจะเป็นคนอย่างนั้นขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูในวัยนี้เป็นสำคัญ

การสร้างระเบียบวินัย
✌หลักของระเบียบวินัย มีหลักสำคัญ 4 ประการ
1.เด็กต้องประพฤติในสิ่งที่ดี และขจัดพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนา
2.เด็กต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจกับการกระทำดีและไม่พึงพอใจกับการกระที่ไม่ดี และหลีกเลี่ยงการกระทำนั้น
3.เด็กต้องการทำความดีจนกระทั่งเกิดความเคยชินหรือเกิดเป็นนิสัยโดยไม่ต้องมีใครแนะนำ
4.เด็กต้องเรียนรู้ถึงการเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ดี ไม่พึงปรารถนาเป็น พฤติกรรมที่ดีที่พึงปรารถนาของสังคม
การฝึกวินัย นักจิตมิทยาได้แยกการฝึกออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1)การฝึกวินัยโดยการใช้ความรักเป็นตัวนำ (Love – oriented tecjnique)
2)การฝึกวินัยโดยการใช้วัตถุเป็นตัวนำ (Object – oriented techniqure)
3)การวางกฎเกณฑ์
✌การช่วยให้เด็กรู้จักบังคับตน
1.สร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูก
2.ให้อิสรภาพแก่เด็ก
3.ไม่มอบความรับผิดชอบแก่เด็กจนเกินกำลัง
4.ช่วยให้เด็กเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ที่เด็กสนใจ
5.อธิบายคำถามที่ต่าง ๆ ที่เด็กสนใจ
5.มีความนับถือในตัวเด็ก
6.ยกย่องชมเชยเด็กในโอกาสอันควร
7.อธิบายเหตุผลต่าง ๆ ให้เด็กก่อนที่จะให้ทำตาม
8.มีความคงเส้นคงวา
✌การปฏิบัติตนของพ่อแม่ในการฝึกวินัย
1.สร้างความศรัทธาให้แก่ลูกเสียก่อน
2.จะต้องเป็นแบบอย่างที่ดี
3.ใช้อำนาจแบบอ่อนโยน
4.ไม่ใช้อำนาจอย่างไร้เหตุผล
5.ออกคำสั่งในรูปการชักชวน
6.ไม่ควรขัดแย้งกันเองให้ลูกเห็น
7.ต้องตัดสินปัญหาร่วมกันได้
8.ไม่ควรให้เด็กทำอะไรถ้าเขายังไม่พร้อม1
9.ควรส่งเสริมให้รู้จักตัดสินในความคิด เมื่อลูกเริ่มรู้จักคิด
10.ให้เด็กเล่นกับเพื่อนรุ่นเดียวกัน
11.เพิ่มความเชื่อมั่นในตนเองให้ลูก

☺การฝึกลักษณะนิสัยที่ดี
1.การรับประทานอาหาร
-สร้างนิสัยที่ดีในการรับประทาน
-ให้เด็กรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ได้อาหารครบ 5 หมู่ เป็นอาหารที่ ย่อยง่าย สุก และนุ่ม เหมาะที่จะให้เด็กเคี้ยว ไม่ควรมีไขมันมากเกินไป มีสีสันน่ารับประทาน รูปร่างแปลกชวนชิม และอร่อย
-ไม่ควรให้เด็กรับประทาน อาหารรสจัด น้ำอดลม อาหารที่มีไขมันมากเกินไป อาหารหมักดอง อาหารกระป๋อง อาหารที่มีผงชูรสมาก และอาหารที่เด็กแพ้เฉพาะราย
2.การฝึกการขับถ่าย
     การฝึกนิสัยการขับถ่ายให้แก่เด็กนั้นมีความแตกต่างกันระหว่างเด็กทารกกับเด็กวัยก่อนเรียน การฝึกแบบค่อยเป็นค่อยไปและใช้ความอดทนเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการฝึก ถ้าฝึกก่อนเด็กจะมีความพร้อมอาจจะทำให้เด็กมีปัญหาเกิดขึ้น
3.การฝึกนิสัยการนอน
-จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับการนอน
-การกำหนดเวลาจะช่วยให้เด็กเคยชินและนอนได้นานๆ
4.การฝึกนิสัยการอาบน้ำแต่งตัว
-การอาบน้ำ เมื่อถึงเวลาอาบน้ำให้เตือนล่วงหน้า 5 นาที เตรียมเครื่องใช้ให้พร้อม ควรสอนวิธีการอาบน้ำ
-การแต่งตัว ควรให้เด็กแต่งตัวเอง
❤❤❤การฝึกให้เด็กอาบน้ำแต่งตัวได้เอง จะทำให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นในตนเองและรู้สึกอิสระ จะทำให้ทีความภาคภูมิใจในตัวเอง ลดการพึ่งพาผู้ใหญ่ ช่วยตัวเองได้เร็วขึ้น

☺บทบาทของพ่อแม่ในการจัดสภาพแวดล้อม
1.จัดสภาพแวดล้อมภายในบ้านให้ร่มรื่น
2.สร้างสภาพแวดล้อมให้อยู่รอบตัวเด็ก ให้เด็กสามารถดูดซึมค่านิยมที่ต้องการปลูกฝังเองได้
3.จัดให้เด็กได้ใกล้ชิดกับบุคคลแวดล้อม
4.จัดโอกาสให้เด็กได้ศึกษาหาประสบการณ์
5.แสวงหาแบบอย่างวัฒนธรรมที่ดีงาม
6.เสนอเรื่องราวหรือเหตุการณ์ปัญหาที่แวดล้อมเด็กสนใจ นำมาสนทนากัน




☺การเลียนแบบของเด็กวัยก่อนเรียน
แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะใหญ่ๆ คือ
1.การเลียนแบบบทบาททางเพศ 
2.การเลียนแบบส่วนตัวที่ไม่ใช่บทบาททางเพศ
3.การเลียนแบบกับการพัฒนาศีลธรรม

ความสนใจเรื่องเพศของเด็กวัยก่อนเรียน

1.พัฒนาการในเรื่องเพศของเด็กวัยก่อนเรียน

อายุ
พัฒนาการในเรื่องเพศของเด็ก
2 ปี
แสดงความรักต่อพ่อแม่มาก
2 ปีครึ่ง
กังวลกับอวัยวะเพศ
3 ปี
ซักถามเรื่องความแตกต่างระหว่างเพศหญิงกับเพศชาย
4 ปี
สนใจและกังวลเรื่องสะดือมาก อยากรู้คนอื่นทำอะไรในห้องน้ำ
5 ปี
เริ่มค้นเคยกับความแตกต่างของอวัยวะเพศ
6 ปี
ชอบแสดงอวัยวะเพศในห้องน้ำ ชอบตั้งชื่อเรียกอวัยวะเพศ

2.การสอนเรื่องเพศ
  1.ควรทำแต่ยังเล็กควรเริ่มจากให้เด็กทราบถึงความแตกต่าง
  2.ผู้ควรฟังในสิ่งที่เด็กถาม
  3.ควรดูแลในเรื่องความเป็นอยู่หลับนอนของเด็ก
  4.หากิจกรรมที่ให้เด็กมีเพื่อนหรือผู้ใกล้ชิด

3.การตอบคำถามเรื่องเพศ
   เรื่องเพศคือเรื่องที่เด็กควรอธิบายให้ทราบ แต่อธิบายโดยข้อความสั้นๆ วิธีตอบคำถามที่ดีที่สุด เราควรความเข้าใจของเด็กก่อนว่า เขาเข้าใจอย่างไร เราควรให้รายละเอียดมากขึ้นกว่าเดิม

ปัญหาของเด็กก่อนวัยเรียน
1.ปัญหาด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิต
  เกิดจากครอบครัวที่แม่ไม่นิยมเลี้ยงลูกด้วยนม พ่อแม่ทารุณ ขาดคุณธรรมและจริยธรรม
2.ปัญหาด้านโภชนาการ
  เกิดจากครอบครัว คือ แม่ขาดความรู้ด้านโภชนาการ 
3.ปัญหาด้านสติปัญญาและความสามารถพื้นฐาน
  เกิดจากพ่อแม่ขาดความรู้ความเข้าใจทางดานร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม สติปัญญา
4.ปัญหาด้านสังคม วัฒนธรรม และจริยธรรม
  เกี่ยวข้องกับครอบครัวเด็กเกิดจากบุตรนอกสมรสและการตั้งครรภ์ที่พ่อแม่ไม่พึงปรารถนา พ่อแม่ขาดการศึกษา ขาดความรับผิดชอบ ครอบครัวแตกแยก



บรรยากาศในห้องเรียน





ประเมินตนเอง ↭ ในวันนี้ได้เรียนรู้เรื่องการอบรมเลี้ยงดูเด็กทารกทำให้เข้าใจมีรายละเอียดที่เรายังไม่รู้แต่ในวันนี้ทำให้เรารู้มากยิ่งขึ้น 

ประเมินเพื่อนร่วมห้อง ↭ เพื่อนๆทุกคนตั้งใจเรียนดีมาก แต่บางคนอาจจะพูดคุยกันบ้างในขณะที่อาจารย์สอนและเพื่อนบางคนให้ความร่วมมือในการเรียนดีมาก 

ประเมินอาจารย์ ↭ สำหรับวันนี้อาจารย์ได้สอนเรื่องการอบรมเลี้ยงดูเด็กทารกและอาจารย์ได้อธิบายถึงรายละเอียดต่างๆให้ฟังทำให้เข้าใจมากขึ้น






ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม