บันทึกการเรียนรู้ ➤ ครั้งที่ 3

วันอังคารที่ 23 มกราคม พ.ศ.2561
เวลา 08.30-11.30น.







ความรู้ที่ได้รับ
   
   ในวันนี้ก่อนจะเริ่มเนื้อหาที่จะเรียนอาจารย์ได้พูดคุยถึงเรื่องของกีฬาสี มีกิจกรรมภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมเป็นกิจกรรมที่ทุกคนต้องเข้าร่วม และพูดถึงงานต่างๆ
   หลังจากนั้นอาจารย์บาสก็เริ่มเนื้อหาเข้าสู่การเรียนการสอนวันนี้เรียนเรื่อง 







บรรยากาศในห้องเรียน



 ทฤษฏีที่เกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย 
⧭ทฤษฎีพัฒนาการด้านจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์
    

   ซิกมันด์ ฟรอยด์ เป็นนักจิตวิทยาชาวออสเตรียที่มีความเชื่อว่าพัฒนาการบุคลิกภาพของคนขึ้นอยู่กับการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานทางด้านสรีระหรือที่เขาเรียกว่าแรงขับโดยสัญชาติญาณแรงขับดังกล่าวมี3ประเภทได้แก่แรงขับทางเพศหรือความต้องการตอบสนองทางเพศ แรงขับหรือความต้องการที่จะมีชีวิตอยู่ และแรงขับหรือความต้องการที่จะแสดงความก้าวร้าว

↬โครงสร้างหลักของบุคลิกภาพ อิด(Id)หมายถึงพลังหรือแรงผลักที่มีมาแต่กำเนิดเป็นสันดานดิบของมนุษย์ อีโก้(Ego)เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างบุคลิกภาพที่ได้มีการคิดรวบรวมข้อมูลต่างๆและมีการวางแผน ซุปเปอร์อีโก้(Superego)เป็นส่วนของบุคลิกภาพที่คอยควบคุม  

↬ขั้นตอนของพัฒนาการด้านบุคลิกภาพ ขั้นที่1 ขั้นปาก อายุแรกเกิด–18 เดือน ☺ขั้นที่2 ขั้นทวารหนัก เด็กวัย 2–3 ปี ☺ขั้นที่3 อวัยวะเพศขั้นต้นวัย 3–5 ปี ☺ขั้นที่4 ขั้นพัก/ขั้นแฝงวัย 5–12 ปี  ☺ขั้นที่5 ขั้นอวัยวะเพศ เป็นระยะสนใจเพศตรงข้ามวัยรุ่น วัยหนุ่มสาว 12 ปี ขึ้นไป

ทฤษฎีพัฒนาการด้านจิตสังคมของอีริคสัน



    อีริค อีริคสัน เป็นนักจิตวิทยาพัฒนาการที่มีชื่อเสียงและให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากมีแนวคิดว่าวัยเด็กเป็นวัยที่สำคัญและพร้อมเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กจะมองโลกในแง่ดีมีความเชื่อมั่นในตนเอง ทุกอย่างเด็กทำได้หมด                                                        
ขั้นพัฒนาการตามทฤษฎีของอีริคสัน ☺ขั้นที่1ความรู้สึกไว้วางใจกับความรู้สึกไม่ไว้วางใจช่วงแรกเกิด–1ปี ☺ขั้นที่2ความรู้สึกเป็นตัวของตัวเองกับความละอายใจช่วง1-2ปี ☺ขั้นที่3การมีความคิดริเริ่มกับความรู้สึกผิดช่วง3-6ปี ☺ขั้นที่4ความขยันหมั่นเพียรกับความรู้สึกต่ำต้อยช่วง6-12ปี ขั้นที่5ความเป็นอัตลักษณ์กับความสับสนในบทบาทช่วง13-20ปี ☺ขั้นที่6ความใกล้ชิดสนิทสนมกับความรู้สึกโดดเดี่ยวอ้างว้างช่วงอายุ21-35ปี ☺ขั้นที่7การสืบทอดกับการคำนึงถึงแต่ตนเองช่วงอายุ36-59ปี ☺ขั้นที่8ความมั่นคงสมบูรณ์ในชีวิตกับความสิ้นหวัง
“ทฤษฎีพัฒนาการทางบุคลิกภาพของอีริคสันได้แสดงให้เห็นถึงความต่อเนื่องของการพัฒนาบุคลิกภาพของบุคคลตั้งแต่ทารกจนถึงวัยสูงอายุทำให้เป็นแนวทางสำคัญในการอบรมเลี้ยงดูเด็กโดยเฉพาะในวัยทารกซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของพัฒนาการในวัยต่อไป…”
ทฤษฎีวุฒิภาวะของกีเซล

  อาร์โนลด์ กีเซล เป็นนักจิตวิทยาที่มีความเชื่อในเรื่องของความเจริญเติบโตตามวุฒิภาวะโดยกล่าวว่า“วุฒิภาวะเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติอย่างมีระเบียบโดยที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสิ่งเร้าภายนอก”                                                        
ขั้นพัฒนาการตามทฤษฎีของกีเซล ทิศทางของการพัฒนาการ ☺พัฒนาการมีความสัมพันธ์กันและเกี่ยวเนื่องกัน ☺พัฒนาการมีการใช้กิจกรรมร่วมกัน ☺การพัฒนาต่างๆเป็นผลมาจากวุฒิภาวะ
⧭ทฤษฎีพัฒนาการด้านการรู้คิดของเพียเจท์


   ฌอง เพียเจท์ นักจิตวิทยาชาวสวิสได้ทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กและพัฒนาการทางสติปัญญา
↬แนวความคิดเกี่ยวกับขบวนการปรับเข้าสู่โครงสร้างและการจัดปรับขยายโครงสร้าง
Assimilation หมายถึงการที่เด็กนำเอาสิ่งที่ตนรับรู้ใหม่ๆเข้าไปผสมผสานกลมกลืนกับความรู้เดิมที่มีอยู่ ซึ่งการรับรู้นี้จะเกิดขึ้นเมื่อเด็กมองเห็นสิ่งใหม่ในแง่ของสิ่งเดิมที่เคยรู้จัก
Accommodation หมายถึงการนำความรู้ใหม่ที่ได้รับไปปรับปรุงความคิดให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้
↬ขั้นตอนพัฒนาการตามทฤษฎีของเพียเจท์ ☺ขั้นที่1ขั้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหวอายุแรกเกิด-2ปี ☺ขั้นที่2ขั้นก่อนการคิดอย่างมีเหตุผลอายุ2-7ปี แบ่งเป็น2ระยะ ระยะที่1ขั้นก่อนความคิดรวบยอดอายุ2-4ปี ระยะที่2ขั้นคิดได้เองโดยไม่รู้เหตุผล ☺ขั้นที่3ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรมอายุ7-11ปี ☺ขั้นที่4ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรมอายุ11-15ปี 
“ทฤษฎีด้านสติปัญญาของเพียเจท์ช่วยให้เข้าใจกระบวนการคิดของเด็กซึ่งเป็นกลไกการคิดที่มีความต่อเนื่องเป็นขั้นตอน ตั้งแต่การเรียนรู้จากประสาทสัมผัส การเคลื่อนไหว เข้าใจในสิ่งที่เป็นรูปธรรมและไปสู่การคิดอย่างมีเหตุผลในสิ่งที่เป็นนามธรรม พัฒนาการจะเป็นไปตามลำดับขั้นจะข้ามขั้นไม่ได้แต่อัตราพัฒนาการอาจมีความแตกต่างกันในสิ่งแวดล้อมที่ต่างกัน ซึ่งเป็นหลักทั่วไปของพัฒนาการทุก ๆ ด้านอยู่แล้ว …”

⧭ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก



  ลอเรนซ์ โคลเบิร์ก เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกันได้ศึกษาค้นคว้าทางด้านพัฒนาการทางจริยธรรม ซึ่งได้รับอิทธิพลความคิดและผลงานมาจากเพียเจท์

↬ขั้นพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบอร์ก☺ระดับขั้นที่1Premoralหรือ Preconventionalวัย2-10ปี มี2ระยะ ระยะที่1 การหลบหลีกการถูกลงโทษ ช่วงอายุ2–7 ปี  ระยะที่2 การแสวงหารางวัล ช่วงอายุ7–10ปี

⧭ทฤษฎีพัฒนาการทางความคิดความเข้าใจของบรุนเนอร์



   เจอโรม บรุนเนอร์ ได้เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับพัฒนาการทางการคิดและใช้เหตุผลโดยอาศัยแนวคิดของเพียเจท์เป็นหลัก 
↬พัฒนาการทางความคิดความเข้าใจเกิดจากสิ่งต่อไปนี้
☺การให้เด็กทำสิ่งต่างๆ อย่างมีอิสระมากขึ้น ☺การเรียนสัญลักษณ์ที่ใช้แทนสิ่งต่างๆ ☺พัฒนาการทางความคิด ☺ภาษาเป็นกุญแจของการพัฒนาด้านความคิด
↬พัฒนาการทางสติปัญญาและการคิดของมนุษย์ แบ่งเป็น 3 ขั้น ดังนี้ 1.Enactive Stage 2.Iconic representation Stage 3.Symbolic representation stag  ↬ลำดับขั้นตอนการสอนอย่างมีเหตุผล ☺ขั้นที่1การสอนควรเริ่มด้วยการให้ผู้เรียนสัมผัสสิ่งต่างๆที่เรียน ☺ขั้นที่2การสอนควรเน้นให้เด็กเกิดการพัฒนาขึ้น ☺ขั้นที่3จัดให้มีการอภิปรายระหว่างเด็กในกลุ่มที่เรียนร่วมกัน 

   อาจารย์ได้ให้ความรู้เพิ่มเติมเรื่องของเด็กปฐมวัย เด็กที่มีอายุ4ขวบ การวาดภาพจะทำได้ดี ทักษะในด้านต่างๆของเด็ก การจับลูกบอล ด้านร่างกาย↝การจับลูกบอล ด้านอารมณ์-จิตใจ↝เบื่อเมื่อจับลูกบอลไม่ได้ ด้านสังคม↝เล่นกับเพื่อน ด้านสติปัญญา↝ใช้ทักษะต่างๆ อาจารย์ก็ให้แบ่งกลุ่มนำเสนอนักทฤษฏีทั้ง 6 ท่าน กลุ่มละ 1 ท่านให้ตัวแทนออกมาจับฉลาก จะทำเป็นวิดีโอหรือนำเสนอในรูปแบบไหนก็ได้ อาจารย์ก็ให้ดูวิดีโอเป็นตัวอย่างมีพัฒนาการด้านจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ พัฒนาการด้านจริยธรรมของโคลเบิร์กกลุ่มของหนูได้ท่านนี้ 

พัฒนาการด้านจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์
พัฒนาการด้านจริยธรรมของโคลเบิร์ก


ฟ้ามีตา ตอนลูกเราน่ารักที่สุดเลย

       


   
 หลังจากนั้นอาจารย์บาสให้ดูคลิปวิดีโอฟ้ามีตา ตอนลูกเราน่ารักที่เลย สิ่งที่ได้รับจากการดูคลิปวิดีโอนี้ทำให้รู้ว่าเด็กจะเป็นอย่างไรอยู่ที่พ่อแม่สอนให้เด็กเป็นแบบนั้นอย่าตามใจลูกจนเกินไปควรสอนให้ลูกมารยาทซื้อของหรือว่ารับของอะไรต่างๆจากคุณครูต้องมีมารยาทมาต่อแถวเหมือนเพื่อนๆ↷อาจารย์ก็ให้วิเคราห์ตัวละคร⇝ครู⇁ต้องเจอผู้ปกครองที่หลากหลายมีทั้งดีและไม่ดีต้องปรับตัว ⇝พ่อแม่⇁เลี้ยงแบบพ่อแม่รังแกฉัน ถ้าเราไม่สอนอะไรผิดอะไรถูกเด็กจะไม่รู้ การชมลูกแต่ไม่รู้ว่าสิ่งที่ชมมันผิดลูก⇁เป็นเด็กที่ก้าวร้าวแต่จริงๆแล้วในตอนที่คุณยายสอนเด็กก็จะทำตามอยู่ที่การสอนของพ่อแม่⇝ผู้ปกครอง⇁อีกคน พูดเกินความจริง ไม่บอกลูกในเรื่องต่างๆที่ไม่ดี คอยให้กำลังใจครู  
การอบรมเลี้ยงดูมี 4 รูปแบบ คือ 1.ปล่อยปละละเลย 2.รักมากถนอมมากหวงมาก 3.คาดหวังกับเด็ก 4.ประชาธิปไตย 


ประเมินตนเอง ↷ วันนี้ได้ความรู้เกี่ยวนักทฤษฏีหลายท่าน ได้ดูคลิปวิดีโอฟ้ามีตา ตอนลูกเราน่ารักที่สุดเลยทำให้รู้เกี่ยวการเลี้ยงลูก ควรสอนอย่างไร

ประเมินเพื่อนร่วมห้อง ↷ เพื่อนๆตั้งใจดูคลิปวิดีโอกันมาก ได้ช่วยกันคิดวิเคราะห์ตัวละคร

ประเมินอาจารย์ ↷ อาจารย์สอนดีมากสรุปนักทฤษฏีให้เข้าใจง่าย ได้นำคลิปวิดีโอมาให้ดูเพื่อเป็นประกอบการสอนให้ทุกคนได้เป็นแนวทางในอนาคต เมื่อเจอแบบนี้เราควรทำอย่างไร






    








ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม